วันที่ 15 มกราคม 2568 (21.30 น. เวลาประเทศไทย) นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดสำนักงานฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ แห่งใหม่ โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางานนางสาวพรรณภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้แทนสำนักงานประชากรและตรวจคนเข้าเมือง (PIBA) ผู้แทนบริษัทจัดหางานภาคก่อสร้าง และนายจ้างภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด
นายพิพัฒน์ กว่าวว่า เมื่อวันที่ 26 - 29 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ผมและผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ได้เดินทางมาพบปะเยี่ยมเยือนสถานเอกอัครราชทูตฯ และสำนักงานฝ่ายแรงงาน ณ กรุงเทลอาวีฟ ซึ่งได้เห็นชอบในการขยายพื้นที่สำนักงานของฝ่ายแรงงานฯ เพื่อให้เป็นสถานที่รองรับและอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องแรงงานไทยได้ อย่างทั่วถึง โดยรัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณและให้ดำเนินการขยายพื้นที่สำนักงาน ดังกล่าว จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงได้มีพิธีเปิดสำนักงานฝ่ายแรงงานฯ แห่งใหม่ในวันนี้ขึ้น
จากนั้น นายพิพัฒน์ ได้พบปะกับบริษัทจัดหางานภาคก่อสร้าง และนายจ้างภาคเกษตร ในรัฐอิสราเอล โดยขอรับฟังความต้องการด้านแรงงาน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดส่งแรงงานไทยมาทำงานในรัฐอิสราเอล ทั้งนายจ้างภาคก่อสร้าง ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมการผลิต อาหาร ต้องการแรงงานมาทำงาน ในอิสราเอลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2568 โดยมีประเด็นข้อหารือ ดังนี้ 1) นายจ้างมีความต้องการแรงงานเข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมด้วย เช่นบริษัทนำเข้าและผลิตอาหารไทยได้ยื่นความต้องการที่ฝ่ายแรงงานแล้ว จำนวนมาก 2) งานภาคเกษตร และป่าไม้นายจ้างมีความต้องการแรงงานไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความต้องการแรงงานชาติอื่นเข้ามาทดแทน และ 3) ขอให้แรงงานไทยมีทักษะพร้อมทำงานทันทีเมื่อเดินทางมาถึงรัฐอิสราเอล และเพิ่มความรู้เรื่องวัฒนธรรม และกฎหมายเบื้องต้น
ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานพร้อมจัดส่งแรงงานไทยที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานในรัฐอิสราเอล โดยหากนายจ้างและสถานประกอบการต้องการจ้างแรงงานไทยสามารถยื่นความต้องการจ้างแรงงานได้ที่ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ทั้งนี้ ขอให้นายจ้างที่จ้างแรงงานไทยดูแลสิทธิประโยชน์และจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง หากนายจ้างจะยกเลิกการจ้างงานกรณีที่คนงานยังไม่เดินทางต้องแจ้งให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดกรณีแรงงานไทยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และไม่ส่งแรงงานไทยไปทำงานในพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่เสี่ยง และเพื่อเป็นการยกระดับการให้บริการกระทรวงแรงงานมีนโยบายที่จะปรับปรุง แก้ไข ลดขั้นตอนการยื่นเอกสารในการจ้างแรงงานไทยให้เป็นแบบ E-Service ในอนาคต
17 มกราคม 2568
ผู้ชม 13 ครั้ง